การรักษาด้วย PRP (พลาสม่าเกล็ดเลือดเข้มข้น) PLATELET RICH PLASMA THERAPY

การรักษานี้จะดึง “ศักยภาพการรักษา” ที่มีอยู่ใน “ร่างกายเรา” ออกมา เป็นวิธีการรักษาแบบใหม่ และเป็นแขนงหนึ่งของเวชศาสตร์ฟื้นสภาพ

PRP (พลาสม่าเกล็ดเลือดเข้มข้น) คือ “พลาสมาที่มีเกล็ดเลือดจำนวนมาก” เป็นของเหลวที่ได้มาจากการปั่นแยกเลือดของผู้ป่วย เพื่อทำให้ส่วนของเกล็ดเลือดเข้มข้นขึ้น เกล็ดเลือดในเลือดจะมาสะสมที่บริเวณแผล ทำให้เลือดแข็งตัว และปล่อย Growth Factor ออกมา มันจะช่วยส่งเสริมการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ใหม่ และเพิ่มพลังในการรักษาตัวเอง การรักษาด้วย PRP ใช้กระบวนการนี้เพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อและเซลล์ที่เสียหาย และบรรเทาอาการปวด

ในการรักษาด้วย PRP เราจะตั้งใจสร้าง “บาดแผลใหม่” บนเนื้อเยื่อหรือเซลล์ที่เสียหาย การสร้าง “บาดแผลใหม่” จะทำให้ร่างกายรู้ตัวอีกครั้งว่าส่วนที่มีพยาธิสภาพเรื้อรังเป็น “บาดแผล” และทำให้เกิดการอักเสบใหม่อีกครั้ง แนวคิดของการรักษาด้วย PRP คือการเพิ่มความสามารถในการซ่อมแซมโดยใช้ PRP ที่มีความเข้มข้นสูง และใช้ความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองในการรักษาบาดแผล

คุณมีปัญหาแบบนี้หรือไม่ ?

สำหรับท่านที่ มีอาการปวดข้อ

มีความไม่พอใจกับการรักษาในปัจจุบัน

อาการปวดข้อไหล่หรือข้อเข่าไม่ยอมหาย

อยากกลับไปเล่นกีฬาหรือทำงานโดยเร็วที่สุด

อยากรักษาอาการปวดเรื้อรัง

มีอาการแพ้ยา จึงไม่สามารถรับการรักษาได้

ต้องการรับการรักษาที่มีผลยาวนาน

ความงามของใบหน้า

เวชศาสตร์ฟื้นสภาพผิวหนัง

PRP ยังมีประสิทธิภาพในด้านการฟื้นสภาพผิวหนังอีกด้วย
เวชศาสตร์ฟื้นสภาพผิวหนัง

ตัวอย่างของโรคที่รองรับ

โรคที่คุณกำลังเป็นอยู่คืออะไร?

หลักการรักษาด้วย PRP

การบาดเจ็บที่หมอนรองกระดูกข้อเข่า

การบาดเจ็บที่เอ็นข้อเข่า

การบาดเจ็บที่เอ็นข้อเท้า

โรคข้อสะโพกผิดรูป

ปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ

กล้ามเนื้อฉีกขาด

เอ็นร้อยหวายอักเสบ

เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ

โรคข้อเข่าผิดรูป

โรคข้อไหล่ติด

การบาดเจ็บที่เอ็นหัวไหล่

- กลุ่มอาการปวดไหล่จากการกดเบียดโครงสร้างภายในข้อไหล่ (Impingement syndrome)

เอ็นข้อศอกด้านในอักเสบ (ข้อศอกนักกอล์ฟ)

การบาดเจ็บที่เอ็นข้อมือ

การบาดเจ็บที่ TFCC

เส้นเอ็นใต้กระดูกสะบ้าอักเสบ (ข้อเข่านักกระโดด)

- โรค Osgood-Schlatter

เอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ (ข้อศอกนักเทนนิส)

ทำไม PRP ถึงใช้ได้ผล ?

การรักษาด้วย PRP จะใช้สารละลายเกล็ดเลือดเข้มข้นที่สกัดจากเลือดของผู้ป่วยเอง นอกเหนือจากการแข็งตัวของเลือดแล้ว เกล็ดเลือดยังมีหน้าที่อื่นด้วย เกล็ดเลือดจะประกอบด้วยสารต่างๆ ที่เรียกว่า Growth Factor

เมื่อเซลล์ได้รับความเสียหาย Growth Factor ที่อยู่ในเกล็ดเลือดจะถูกหลั่งออกมา เพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อและเซลล์ที่เสียหาย การทำงานและหน้าที่ของ Growth Factor จะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิด เช่น การสร้างคอลลาเจน/กรดไฮยาลูโรนิก, การสร้างหลอดเลือดใหม่, การกระตุ้นเซลล์กระดูก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีผลในการส่งเสริมการซ่อมแซมเซลล์และการแบ่งเซลล์ด้วย จึงสามารถเพิ่มความสามารถของร่างกายในการซ่อมแซมตัวเองได้

ว่ากันว่า PRP ที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้นนั้น มี Growth Factor มากกว่าปกติ 3-5 เท่า และการทำงานของ Growth Factor เหล่านี้ สามารถซ่อมแซมเนื้อเยื่อและเซลล์ บวกกับลดความเจ็บปวดได้

ข้อดี/ข้อเสียของการรักษาด้วย PRP

ข้อดี: มีความปลอดภัยสูง เกิดความเครียดกับร่างกายน้อย

- วิธีการรักษามีความปลอดภัยสูง

PRP คือการฉีดน้ำเลือดที่สกัดออกมาจากเลือดของคุณ ผลข้างเคียง เช่น ปฏิกิริยาการแพ้และการปฏิเสธเนื้อเยื่อ จึงมีโอกาสเกิดน้อยมาก

- รองรับโรคที่รักษาให้หายยาก

PRP จะส่งเสริมความสามารถในการรักษาโดยธรรมชาติ เพื่อฟื้นฟูส่วนที่บาดเจ็บ และบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง นอกจากนี้ ยังสามารถบรรเทาอาการของโรคที่รักษาไม่หาย ซึ่งการรักษาแบบดั้งเดิมไม่ประสบผลสำเร็จด้วย

- มีประสิทธิภาพในการฟื้นสภาพผิวหนังด้วย

PRP ที่มี Growth Factor หลากหลายชนิด ยังมีประสิทธิภาพในการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อผิวหนังใหม่อีกด้วย สามารถใช้ในการเสริมความงามผิวได้อย่างปลอดภัย

- เกิดความเครียดกับร่างกายน้อย

ต่างจากการผ่าตัดที่ต้องใช้มีดผ่าตัดและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความเครียดต่อร่างกาย การรักษาด้วย PRP ใช้เข็มฉีดยา ทำให้ผู้ป่วยรับการรักษาภายในวันได้ และแทบจะไม่มีร่องรายบาดแผลหลังรับการรักษา ไม่จำเป็นต้องพักผ่อนหลังการฉีดเซลล์ อาจจะต้องระมัดระวังการเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดความเครียดบ้าง แต่คุณสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

ข้อเสีย: ผลการรักษาแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

- ประสิทธิผลของการรักษาแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

PRP จะไม่ได้มีองค์ประกอบคงที่ เนื่องจากทำจากการปั่นแยกเลือด ซึ่งในส่วนนี้จะไม่ได้เหมือนกับยาทั่วไป ดังนั้น ผลการรักษาจึงมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล นอกจากนี้ ระยะเวลาและระดับของผลการรักษา ก็มีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคลเช่นกัน

- อาจเกิดอาการปวดและบวมได้

หลังการรักษา 2-3 วัน จะเกิดปฏิกิริยาอักเสบบริเวณที่ฉีด ซึ่งอาจมีอาการเจ็บปวด บวม ร้อน และแดงร่วมด้วย นี่เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นชั่วคราว และอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น

ขั้นตอนการรักษาด้วย PRP

การรักษามี 3 ขั้นตอน! สามารถไปเช้าเย็นกลับได้

STEP 1

CPC ที่คลินิกของเรา

ทำการเจาะเลือด

STEP 2

เลือดที่เก็บรวบรวมจะถูกปั่นแยกเพื่อ

แยกส่วนของพลาสมาออกมา

STEP 3

ฉีดพลาสมาเข้มข้นลงไปในบริเวณ

ที่บาดเจ็บ

- การรักษาทำได้ง่าย

เจาะเลือด และนำส่วนพลาสมาที่สกัดจากเลือดไปฉีดบริเวณที่บาดเจ็บ ไม่มีการผ่าตัดหรือการเข้าโรงพยาบาล

- ปลอดภัย ไว้ใจได้

การรักษาด้วย PRP เป็นการฉีดส่วนประกอบของเลือดที่ได้มาจากผู้ป่วยเอง จึงเกิดผลข้างเคียงหรืออาการแพ้ยาก และเป็นการรักษาที่ความปลอดภัยสูง

- ความปลอดภัยของการรักษาด้วย PRP

เนื่องจากการรักษาด้วย PRP จะใช้เลือดของผู้ป่วยเอง จึงมีโอกาสน้อยที่จะเกิดผลข้างเคียงเหมือนการรักษาด้วยยาทั่วไป และไม่มีความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้และการปฏิเสธเนื้อเยื่อด้วย ส่วนประกอบของยาทำจากเลือดของผู้ป่วยเอง จึงไม่นับว่าเป็นการโด๊ปยา นักกีฬาก็สามารถใช้ได้อย่างมั่นใจ

- การแพทย์ทันสมัยที่ถูกใช้โดยนักกีฬามืออาชีพ

การรักษาด้วย PRP สามารถเร่งความเร็วในการรักษามากกว่าการรักษาทั่วไปถึง 2-3 เท่า จึงมีการนำไปใช้ในการรักษานักกีฬามืออาชีพด้วย

- ข้อควรระวังหลังการรักษา

การรักษาด้วย PRP คือการรักษาที่ตั้งใจทำให้เกิดการอักเสบ และกระตุ้นให้เกิดการรักษาตัวเอง วิธีนี้ไม่ใช่การรักษาที่ระงับการอักเสบ ซึ่งต่างจากการฉีดสเตียรอยด์ หลังการรักษาประมาณ 3-4 วัน อาจจะเกิดอาการปวดได้เนื่องจากปฏิกิริยาการอักเสบ

- ข้อควรระวังเกี่ยวกับการรักษาด้วย PRP

เกี่ยวกับการรักษาอาการปวด

  • ในกรณีที่ฉีดเข้าข้อ กรุณางดการอาบน้ำ/แช่อ่างอาบน้ำภายใน 24 ชั่วโมงหลังการรักษา
  • กรุณางดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการออกกำลังกายอย่างหนักในวันที่รับการรักษา
  • หากบริเวณที่ฉีดบวมหรือแดง กรุณาประคบเย็น
  • ในบางกรณีอาจมีเลือดออกภายใน แต่สามารถหายเองได้ กรุณาสังเกตอาการก่อน 2-3 วัน
  • หากมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการ กรุณามาพบแพทย์

เกี่ยวกับการรักษาด้านความงาม

  • กรุณาหลีกเลี่ยงการแต่งหน้าภายในวันที่รับการรักษา ถ้าจะแต่งหน้า กรุณาใช้พัฟที่สะอาด
  • คุณสามารถล้างหน้าได้ภายในวันที่รับการรักษา
  • กรุณาหลีกเลี่ยงการไปที่ร้านเสริมความงาม หรือการใช้เครื่องบำรุงผิวหน้าเป็นเวลา 1 สัปดาห์

ลักษณะของผู้ที่ไม่สามารถรับการรักษาด้วย PRP ได้

บุคคลต่อไปนี้ อาจไม่สามารถรับการรักษาได้

  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือโรคตับ
  • ผู้ที่เป็นโรคติดเชื้อหรือโรคเลือด
  • สตรีมีครรภ์

นอกจากนี้ หากแพทย์พิจารณาว่าไม่เหมาะสมระหว่างการให้คำปรึกษา

คำถามที่พบบ่อย

Q: ผลของ PRP จะเริ่มปรากฏให้เห็นเมื่อไหร่?

A:   แม้ว่าจะมีความแตกต่างระหว่างบุคคล แต่โดยทั่วไปจะเห็นผลภายใน 1 สัปดาห์หลังการฉีดยา
ในผู้ป่วยบางท่าน สามารถรู้สึกถึงผลการรักษาภายในวันที่รับการรักษา

Q: ผลการรักษาจะอยู่นานแค่ไหน?

A:   ผลของการรักษาด้วย PRP จะคงอยู่ได้นานหลายเดือน ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา บริเวณที่บาดเจ็บอาจหายได้ในช่วงเวลานี้
อย่างไรก็ตาม จะไม่สามารถซ่อมแซมหรือสร้างกระดูกอ่อนขึ้นมาใหม่ได้ ในโรคที่อาการทรุดหนักขึ้นได้ เช่น โรคข้อผิดรูป อาจจะแสดงอาการออกมาอีกครั้งได้หากเวลาผ่านไป

Q: ควรจะได้รับการรักษากี่ครั้ง?

A:   การรักษาเพียงครั้งเดียว ก็อาจเกิดผลการรักษาที่เห็นชัดเจนได้
นอกจากนี้ ก็มีกรณีที่อาการดีขึ้นในการรักษาแต่ละครั้ง เราจะแนะนำจำนวนครั้งการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพการบาดเจ็บ

Q: การรักษาด้วย PRP มีหลายประเภท แล้วแบบไหนดีที่สุด?

A:   การรักษาด้วย PRP มีหลายประเภท รวมถึงการรักษาด้วย APS
วิธีการรักษาเหล่านี้มักจะเป็นการนำ PRP มาทำให้เข้มข้นขึ้น จึงกล่าวกันว่าผลการรักษาจึงสูงกว่า PRP ด้วย อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วย PRP ก็มีความแตกต่างระหว่างบุคคลมากอยู่ดีในภาพรวม
วิธีการรักษาแต่ละวิธี ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายในการสกัดสารที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะกับตัวเองจะดีที่สุด

Q: ผู้สูงอายุสามารถรับการรักษาได้หรือไม่?

A:   เป็นวิธีการรักษาที่ปลอดภัย ผู้สูงอายุก็สามารถรับการรักษาได้อย่างสบายใจ
การสกัด PRP ใช้เวลาประมาณ 30 นาที คุณจึงสามารถรับการรักษาได้ทันที

Q: การรักษาด้วย PRP และการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ ต่างกันอย่างไร?

A:   การรักษาด้วย PRP คือการรักษาที่แยกส่วนประกอบของเกล็ดเลือดที่มีอยู่ในเลือด และเพิ่มความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองตามธรรมชาติ ลักษณะเด่นคือ การที่ใช้เวลาเตรียมน้อยกว่าการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ และมีแนวโน้มที่ผลการรักษาจะเห็นได้เร็วกว่า
การรักษาด้วยสเต็มเซลล์ มีลักษณะเด่นคือการที่มันสามารถซ่อมแซม/ฟื้นสภาพเนื้อเยื่อที่เสียหายได้ นอกจากนี้ ยังสามารถรักษากระดูกอ่อนในข้อต่อ ซึ่งในการแพทย์ดั้งเดิมไม่สามารถทำได้ เมื่อเทียบกับการรักษาด้วย PRP ซึ่งเป็นการรักษาเพียงชั่วคราวแล้ว ยังมีระยะเวลาที่เห็นผลลัพธ์นานกว่าด้วย
การรักษาด้วยสเต็มเซลล์ สามารถทำโดยการฉีดเซลล์ทางหลอดเลือดดำได้ด้วย เป็นวิธีการรักษาที่ไม่ได้มีผลเฉพาะจุด แต่มีผลกับทุกส่วนของร่างกายที่กำลังอ่อนแอ

การรักษาด้วย APS คืออะไร?

APS คือการรักษาด้วย PRP ยุคถัดไป ที่สกัดโดยชุดคิท APS ที่จำหน่ายโดยบริษัท Zimmer Biomet ขั้นตอนการทำนั้น ก่อนอื่นจะมีการเจาะเลือด 55 ml ใส่ในหลอดปั่นแยกเซลล์ APS และนำไปปั่นแยกเป็นเวลา 15 นาที เพื่อสกัด PRP ปริมาณ 6 ml เราจะใส่ PRP นั้นลงไปในหลอด APS เข้มข้น และปั่นแยกอีก 2 นาที แล้วจะได้ APS ปริมาณ 2.5 ml ออกมา

เนื่องจากใน APS มีการสกัด Growth Factor และสารต้านการอักเสบที่มีความเข้มข้นมากกว่า PRP ทั่วไป จึงกล่าวกันว่ามีฤทธิ์ระงับปวดได้ดีกว่า และมีระยะเวลาการออกฤทธิ์นานกว่าการรักษาด้วย PRP ในการทดลองทางคลินิกที่ดำเนินการในยุโรปเกี่ยวกับโรคข้อเข่าผิดรูประยะลุกลาม มีรายงานว่าหลังการฉีด APS 1 ครั้ง สามารถบรรเทาอาการปวดได้นานถึง 24 เดือน

APS(Autologous Protein Solution)

การรักษาด้วย PRP จะใช้เลือดของคุณเอง ในการสกัดพลาสมาที่มีเกล็ดเลือดปริมาณมาก APS (Autologous Protein Solution) คือ PRP ที่ทำให้มีความเข้มข้นสูงยิ่งขึ้น

อ้างอิง: จากเว็บไซต์ทางการของ Zimmer Biomet

การรักษาด้วย PFC-FD คืออะไร ?

ในการผลิต PFC-FD นั้น เราจะกลั่น PRP เพื่อสกัดเฉพาะส่วนของ Growth Factor ออกมา เมื่อเรากระตุ้นการทำงานของมัน เราก็จะได้ PFC (Platelet-Derived Factor Concentrate) ออกมา ซึ่งเป็น Growth Factor ที่ถูกทำให้เข้มข้น หลังจากนั้นจะทำการกรอง PFC ด้วยตัวกรองพิเศษ เพื่อทำให้ไม่มีเซลล์หลงเหลือ (Cell-free) และทำให้แห้งแบบเยือกแข็ง (Freeze dry) เพื่อให้ได้ออกมาเป็น PFC-FD

เมื่อเทียบกับ PRP ซึ่งสามารถให้ได้ในวันเดียวกับที่เจาะเลือด PFC-FD จะใช้เวลาในการสกัดและแปรรูป 3 สัปดาห์ แต่ว่าการแช่แข็งและทำให้แห้ง ทำให้มันสามารถเก็บรักษาได้นานถึง 6 เดือน ในตอนที่จะฉีด จะทำการละลาย PFC-FD ซึ่งอยู่ในรูปผงด้วยน้ำเกลือก่อน เพื่อให้มันกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง

PFC-FD (Platelet-Derived Factor Concentrate Freeze Dry)

PRP คือพลาสมาที่มีส่วนประกอบของเกล็ดเลือด (Growth Factor เป็นต้น) จำนวนมาก ที่สกัดออกมาจากเลือด ส่วน PFC-FD จะทำโดยการสกัดและแช่แข็ง Growth Factor ที่มีอยู่ใน PRP

PFC-FD เป็นตัวย่อของ Platelet-Derived Factor Concentrate Freeze Dry ซึ่งหมายถึง “Growth Factor ที่สกัดมาจากเกล็ดเลือดเข้มข้น และนำไปทำให้แห้งหลังการแช่แข็ง” โดยทั่วไปจะเรียกกันว่า FD หรือ Freeze Dry PFC-FD นี้ก็เป็นการรักษาด้วย PRP รูปแบบหนึ่ง ซึ่งประยุกต์มาจากการรักษาด้วย PRP แบบดั้งเดิม PFC-FD มีการสกัด Growth Factor จาก PRP ให้เข้มข้นขึ้น และว่ากันว่ามีปริมาณ Growth Factor มากกว่า PRP ประมาณ 2 เท่า