คุณมี “ภูมิคุ้มกันที่ลดลง”โดยที่คุณไม่รู้ตัวรึเปล่า?

ติดเชื้อง่าย เช่น เป็นหวัดและไข้หวัดใหญ่บ่อย

ชอบมีขอบตาดำ หรือผิวหยาบกร้าน

เมื่อความเหนื่อยล้าสะสม จะชอบเป็นงูสวัดหรือเริมที่ปาก

พอออกกำลังกายนาน ๆ ครั้ง จะทำให้ติดหวัดง่ายขึ้น

ถึงจะแปรงฟันบ่อย ๆ แต่ก็ยังเป็นโรคเหงือกอักเสบ

ทำงานแล้วมีความเครียดสะสม ระยะเวลาทำงานนาน

ปกติไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

นอนไม่หลับ การนอนไม่สม่ำเสมอ

ดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์และไวน์ บ่อยครั้ง

สูบบุหรี่เป็นประจำ

ชอบหายใจแบบอ้าปาก

ต้องทานยาปฏิชีวนะหรือยาแก้ปวดลดไข้อยู่บ่อย ๆ

รู้สึกว่าตัวหนักตลอดเวลา ไม่หายเหนื่อย

รู้สึกว่าสภาพผิวแย่ลง มีสิวมากขึ้น และอาการภูมิแพ้หนักขึ้น

ทานอาหารไม่ค่อยหลากหลาย ทำให้สารอาหารที่ได้รับไม่สมดุล

ท้องผูกบ่อย

ท้องเสียบ่อย

ติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะ หรือเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย

เคยเป็นไข้หวัดใหญ่ 2 ครั้งในฤดูกาลเดียวกัน

ชอบเกิดอาการภูมิแพ้ เช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือภูมิแพ้เกสรดอกไม้

หากสิ่งที่อยู่ในเช็คลิสต์ด้านบนเกิดกับคุณซ้ำ ๆ หรือเกิดอย่างเรื้อรัง แปลว่าภูมิคุ้มกันของคุณอาจจะกำลังอ่อนแอ

เมื่อระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจทำให้ไข้หวัดธรรมดา ๆ ที่ปกติจะหายเร็ว มีอาการที่รุนแรงมากขึ้นได้ควรจะทราบไว้ว่า สภาพแบบนั้นเป็นสภาพที่อันตรายมาก

ในทางกลับกัน หากคุณสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันได้ คุณจะมีโอกาสเป็นหวัดน้อยลง และมีความเป็นไปได้สูงที่จะป้องกันการเกิดมะเร็งด้วย

การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันของคลินิกเรา มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มความสามารถของเซลล์ภูมิคุ้มกันและทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อโรคน้อยลง

กลไกของระบบภูมิคุ้มกัน

ร่างกายมนุษย์ มีกลไกในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ตัวอย่างเช่น เมื่อไวรัสไข้หวัดใหญ่เข้าสู่ร่างกาย “ระบบภูมิคุ้มกัน” จะต่อสู้กับไวรัส “ระบบภูมิคุ้มกัน” นี้เป็นระบบป้องกันตัวเอง ที่ไม่เพียงแต่ต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกร่างกายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเซลล์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และป้องกันโรคทุกชนิดด้วย

แนะนำสมาชิกของภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด และภูมิคุ้มกันที่ได้มาภายหลัง

กลไกของระบบภูมิคุ้มกัน มี 2 กลไกหลัก ๆ คือ “ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด” และ “ภูมิคุ้มกันที่ได้มาภายหลัง”
“ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด” เป็นระบบการป้องกันตัวเองจากโรคที่เรามีตั้งแต่กำเนิด เป็นระบบที่สามารถจดจำและโจมตีเชื้อโรคและเซลล์ที่เป็นอันตรายได้อย่างรวดเร็ว

อาการหลัก

เซลล์เดนไดรต์

มีหน้าที่ส่งต่อข้อมูลของเชื้อโรค
ให้กับลิมโฟไซต์

แมคโครฟาจ

มีหน้าที่กำจัด
เชื้อโรคที่ตายแล้ว

แกรนูโลไซต์

(นิวโทรฟิล, อีโอซิโนฟิล, เบโซฟิล)
โจมตีเชื้อโรค

เซลล์เอ็นเค

มีหน้าที่ตรวจตราร่างกาย
และมีพลังโจมตีสูง
ต่อเชื่อโรค

ภูมิคุ้มกันที่ได้มาหลังการติดเชื้อหรือไวรัส ซึ่งเฉพาะเจาะจงต่อเชื้อเหล่านั้น จะถูกเรียกว่า “ภูมิคุ้มกันที่ได้มาภายหลัง” “ภูมิคุ้มกันที่ได้มาภายหลัง” นี้ ไม่ได้มีตั้งแต่กำเนิดเหมือน “ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด”
ตัวอย่างภูมิคุ้มกันประเภทนี้ คือภูมิคุ้มกันต่อโรคหัด และหัดเยอรมัน

ภูมิคุ้มกันที่ได้มาภายหลัง

เซลล์ทีเฮลเปอร์

มีหน้าที่ส่งต่อข้อมูลของเชื้อโรค
ให้กับลิมโฟไซต์

เซลล์ทีซับเพรสเซอร์

โจมตีเชื้อโรค
เซลล์ทีคิลเลอร์

แกรนูโลไซต์

ออกคำสั่งยับยั้ง
การโจมตีเชื้อโรค

เซลล์บี

โจมตีเชื้อโรค
ด้วยสิ่งที่เรียกว่า
แอนติบอดี้

ภูมิคุ้มกันที่ได้มาภายหลัง จะจดจำเชื้อโรคตามข้อมูลที่ได้รับจากภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด ภูมิคุ้มกันที่ได้มาภายหลังนี้ จะโจมตีเชื้อที่เหลือ ที่ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิดกำจัดไม่หมด การจดจำข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อโรคที่เคยติดครั้งหนึ่ง จะทำให้ภูมิคุ้มกันสามารถตรวจจับการเข้ามาของเชื้อเดียวกันในครั้งต่อไป และทำการโจมตีอย่างรวดเร็ว

ระบบนี้ทำให้ร่างกายเป็นโรคยาก เรียกกันโดยทั่วไปว่า “เกิดภูมิคุ้มกัน” นั่นเอง

ว่ากันว่าในร่างกายคนเรา มีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นใหม่โดยธรรมชาติวันละหลายพันเซลล์

ในคนที่แข็งแรง จะสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นเองนี้ด้วยระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันการเกิดโรค “มะเร็ง” อย่างไรก็ตาม หากระบบภูมิคุ้มกันของคุณอ่อนแอลงเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น โรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิต เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง เบาหวาน หรืออายุที่เพิ่มมากขึ้น และความเครียด คุณจะติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เช่น โรคหวัด เป็นต้น นอกจากนี้ ยังทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นโรค “มะเร็ง” เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ทำไมถึงเป็นมะเร็งได้ล่ะ?

ในตอนที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ตามปกติ เซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นในร่างกายจะถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันลดลง เซลล์มะเร็งที่รอดมาจะค่อย ๆ เพิ่มจำนวนนั่นเอง

เพราะว่า “เซลล์ยับยั้งภูมิคุ้มกัน” ที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง จะเข้ามาล้อมเซลล์มะเร็งและทำหน้าที่เหมือนเป็นเกราะกำบังให้กับเซลล์มะเร็ง ป้องกันการโจมตีจากระบบภูมิคุ้มกัน หากเซลล์มะเร็งที่ได้รับการปกป้องจากเซลล์ยับยั้งภูมิคุ้มกันเพิ่มจำนวนต่อไปเรื่อย ๆ ก็จะเข้าสู่ระยะที่เป็นโรค “มะเร็ง” นั่นเอง

ความแตกต่างของพลังระบบภูมิคุ้มกัน

ในฤดูหนาว ผู้คนจะเป็นหวัดและไข้หวัดใหญ่มากขึ้น แต่ถึงจะอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ก็มีทั้งคนที่ไม่ค่อยเป็นโรค กับคนที่ป่วยบ่อย ๆ

ความแตกต่างนี้คือ “ความแตกต่างของพลังระบบภูมิคุ้มกัน” นั่นเอง ถึงจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่หนาวเย็น และมีคนที่ติดเชื่อที่แพร่ง่ายอยู่ใกล้ ๆ คนที่มีพลังระบบภูมิคุ้มกันสูง ก็สามารถป้องกันตัวเองจากเชื้อภายนอกได้

ที่จริงแล้ว นักกีฬามีภูมิคุ้มกันอ่อนแอได้ง่าย

นักกีฬาที่มีร่างกายแข็งแกร่ง จากการฝึกซ้อมอย่างหนัก ก็น่าจะมีพลังระบบภูมิคุ้มกันที่สูง และเป็นหวัดยาก หลายคนก็น่าจะคิดว่าอย่างนั้นใช่ไหม?

จริงอยู่ว่าการออกกำลังกายที่พอเหมาะจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน แต่การออกกำลังกายที่หนักหน่วง กลับทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง มีผลการวิจัยว่าคนที่เล่นกีฬาที่หนัก เช่น มาราธอน จะมีโอกาสเป็นหวัด (ติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน) มากกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกายประมาณ 2-6 เท่า

การรักษาด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกัน เพื่อเสริมพลังภูมิคุ้มกัน

ที่คลินิกของเรา เราส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันมะเร็ง และป้องกันการเกิดซ้ำของมะเร็งโดยการเพิ่มภูมิคุ้มกัน

ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันมะเร็ง

หากเราสามารถเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันด้วยการรักษาด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกัน เราก็สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคหรือไวรัส ภูมิแพ้ และมะเร็งได้

มะเร็ง ป้องกันการเกิดซ้ำ

การรักษาด้วยภูมิคุ้มกัน เรียกอีกอย่างว่า “การรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกัน”วิธีการรักษานี้เป็นวิธีที่ 4 ที่กำลังได้รับความสนใจ รองลงมาจาก “การรักษาด้วยยา (ยาต้านมะเร็ง)”, “การรักษาด้วยรังสี” และ “การรักษาด้วยการผ่าตัด”เมื่อเทียบกับการรักษาแบบเดิม จะมีความปลอดภัยสูงเนื่องจากแทบไม่มีผลข้างเคียงใด ๆนอกจากนี้ ยังเป็นวิธีการรักษาที่เป็นมิตรต่อผู้ป่วย เพราะเกิดวามเครียดต่อร่างกายน้อยมากด้วย

การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันนี้ มีการวิจัยและทดลองรักษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยาแล้วสิบกว่าปี และมีการประยุกต์ใช้ทางคลินิกแล้วด้วยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเช่นนี้มีอยู่หลายสิบแห่ง และเป็นวิธีการรักษาแบบใหม่ด้รับความสนใจอย่างมาก

เวชศาสตร์ฟื้นสภาพ มีศักยภาพในการรักษาที่ไม่พบในการรักษาแบบดั้งเดิม เราเห็นผู้ป่วยหลายท่านที่มีความสุขจากการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ เพราะทำให้สามารถทำในสิ่งที่เคยทำไม่ได้มาก่อน เราหวังว่าการรักษานี้จะแพร่หลายมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อที่จะให้ความหวังใหม่แก่ผู้ป่วย