膝関節の症例紹介

หากได้รับการวินิจฉัยว่ามีการบาดเจ็บ/ฉีกขาดของเอ็นหัวไหล่จำเป็นต้องผ่าตัดรึเปล่า?

หากได้รับการวินิจฉัยว่ามีการบาดเจ็บ

ฉีกขาดของเอ็นหัวไหล่จำเป็นต้องผ่าตัดรึเปล่า?

การบาดเจ็บ/ฉีกขาดของเอ็นหัวไหล่ มีสาเหตุจากอายุ การล้ม การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา และการทำงานท่าเดียวกันซ้ำ ๆ เป็นต้น การบาดเจ็บอาจเกิดจากการเสียดสีของกระดูกรอบ ๆ หัวไหล่กับเอ็นหัวไหล่ด้วย

หากได้รับการวินิจฉัยการบาดเจ็บ/ฉีกขาดของเอ็นหัวไหล่โดยใช้เครื่อง MRI แพทย์หลายคนจะแนะนำให้ทำการผ่าตัดส่องกล้องภายในข้อ เพื่อซ่อมแซมเอ็นหัวไหล่ที่ได้รับบาดเจ็บ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาการบาดเจ็บเอ็นหัวไหล่จะค่อยๆ ลุกลาม และเกิดการฉีกขาดในที่สุด หากเอ็นฉีกขาดโดยสิ้นเชิง การผ่าตัดจะยากขึ้น และมีความเสี่ยงต่อการฉีกขาดซ้ำก็จะเพิ่มขึ้นด้วย

ข้อไหล่ปกติ

เอ็นหัวไหล่ฉีกขาด

แต่ในความเป็นจริง มักจะไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ผู้ป่วยจำนวนมากลังเลที่จะเข้ารับการผ่าตัดหากยังสามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ แม้ว่าจะมีอาการปวดไหล่ก็ตามหลายคนรู้สึกไม่สบายใจที่ต้องรับการผ่าตัด ซึ่งต้องมีการเข้าโรงพยาบาลด้วยแม้ว่าการผ่าตัดจะประสบความสำเร็จและผู้ป่วยได้ออกจากโรงพยาบาลแล้ว ก็ยังจำเป็นต้องมีการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นเวลานาน

นอกจากนี้ ถึงจะได้รับการผ่าตัดเพื่อรักษาการบาดเจ็บ/ฉีกขาดของเอ็นหัวไหล่แล้ว ก็อาจจะมีอาการเจ็บข้อไหล่มากกว่าตอนก่อนผ่าตัด หรือทำให้ยกแขนยากขึ้นได้สำหรับแพทย์ที่จะทำการผ่าตัดแล้ว หากผู้ป่วยยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้และไม่ต้องการที่จะรับการผ่าตัด ก็อยากจะหลีกเลี่ยงการผ่าตัดที่มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน

แล้วเมื่อไหร่ที่การผ่าตัดจะจำเป็นจริงๆ?

ถ้าอาการปวดไหล่ส่งผลในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้ยกแขนยาก แปลว่าจำเป็นที่จะต้องทำการผ่าตัดแล้ว ตอนที่ผมยังไม่มีประสบการณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นสภาพ ผมก็จะทำการผ่าตัดโดยการส่องกล้องภายในข้อให้ในสถานการณ์แบบนี้

แต่ด้วยเวชศาสตร์ฟื้นสภาพที่ใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาการบาดเจ็บที่เส้นเอ็นหัวไหล่ ทำให้สามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดและฟื้นสภาพเส้นเอ็นหัวไหล่ได้ในผู้ป่วยหลายราย โดยที่ไม่ต้องผ่าตัด

การรักษาด้วยสเต็มเซลล์ในฐานะตัวเลือก

เลือกใหม่ที่ไม่ต้องผ่าตัด

เวชศาสตร์ฟื้นสภาพที่ใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาการบาดเจ็บที่เส้นเอ็นหัวไหล่ เป็นการแพทย์ล้ำสมัยที่ได้รับความสนใจจากทั้งในและนอกประเทศผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่เอ็นหัวไหล่ ส่วนใหญ่ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ จึงไม่ค่อยอยากจะรับการผ่าตัดหรือเข้าโรงพยาบาล แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา บริเวณที่เสียหายก็จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ประสบปัญหาแบบนี้ สามารถใช้เวชศาสตร์ฟื้นสภาพในการบรรเทาอาการและหลีกเลี่ยงการผ่าตัดได้แน่นอนว่าผลการรักษาแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่มีความเป็นไปได้สูงที่จะบรรเทาความเจ็บปวดได้

ที่คลินิกของเราจะหลีกเลี่ยงการผ่าตัดที่มีความเสี่ยงเราจะใช้เวชศาสตร์ฟื้นสภาพที่ล้ำสมัย คือการฉีดสเต็มเซลล์ข้าไปในบริเวณที่บาดเจ็บของเอ็นหัวไหล่ เพื่อสร้างเนื้อเยื่อเอ็นขึ้นมาใหม่และบรรเทาอาการ

ความเสี่ยงของการผ่าตัดรักษาเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด (บาดเจ็บ)

1. การฉีกขาดซ้ำหลังการผ่าตัด

การผ่าตัดรักษาเอ็นหัวไหล่ จะทำโดยการผ่าตัดส่องกล้องเข้าไปในข้อ ส่วนใหญ่การฉีกขาดของเอ็น จะเกิดขึ้นตรงบริเวณที่ติดกับกระดูก

วิธีการผ่าตัดคือการฝังสกรูที่เรียกว่า Anchor เข้าไปในกระดูก และเย็บเอ็นที่ฉีกขาดโดยใช้ด้ายที่ติดอยู่ที่ปลาย Anchor หากบริเวณที่ฉีกขาดอยู่ไกลกันและนำมาต่อยาก จะนำเยื้อหุ้มกล้ามเนื้อจากต้นขามาชดเชยส่วนที่ขาด

เส้นเอ็นเป็นเนื้อเยื่อที่นิ่ม และเกิดการฉีกขาดง่ายแม้ว่าจะเย็บติดแล้วก็ตามแม้ว่าคุณจะได้รับการผ่าตัดและการฟื้นฟูสมรรถภาพ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดการฉีกขาดซ้ำได้โอกาสที่เอ็นหัวไหล่ที่ผ่าตัดไปแล้วจะฉีกขาดซ้ำ จะแตกต่างกันไปขึ้นกับวิธีการเย็บและขนาดของรอยฉีกขาด

2. การหดเกร็งของข้อต่อหลังการผ่าตัด

การที่ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ไม่ดี จะเรียกว่าการหดเกร็งของข้อต่อ การหดเกร็งของข้อต่อจะเกิดขึ้นเสมอ หากมีการผ่าตัดและใชีมีดกรีดลงไปในข้อ การหดเกร็งของข้อต่อ เกิดจากการที่เนื้อเยื่อที่ถูกตัดเชื่อมกันใหม่ แม้ว่าเราจะทำการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการขยับข้อต่อหลังการผ่าตัด แต่การหดเกร็งของข้อต่อก็เป็นผลเกิดขึ้นบ่อยอยู่ดี

มีหลายกรณีที่ผู้ป่วยรู้สึกว่า “นึกว่าถ้าผ่าตัดแล้วจะดีขึ้น แต่กลับแย่ลงซะอีก…”

สำหรับการหดเกร็งของข้อต่อที่ทำให้ดีขึ้นด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพไม่ได้ เราจะใช้วิธีการรักษาที่เรียกว่า “Manipulation”โดยทั่วไป การรักษานี้ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและดมยาสลบหลังจากดมยาสลบแล้ว จะทำการขยับข้อไหล่ เพื่อให้เนื้อเยื่อข้อต่อที่เชื่อมติดกันหลุดออก

ที่คลินิกของเรา เราสามารถทำการรักษาในวันเดียวได้โดยการใช้อัลตราซาวด์ และให้ยาชาเฉพาะที่เส้นประสาทที่เชื่อมต่อกับไหล่และแขนเท่านั้น วิธีการรักษานี้มีประสิทธิภาพสูง สำหรับการหดเกร็งของข้อต่อที่ทำให้เกิดโรคข้อไหล่ติด และการฟื้นฟูสมรรถภาพไม่ได้ผลตามที่คิด

เวชศาสตร์ฟื้นสภาพของคลินิกของเราสำหรับการบาดเจ็บ/ฉีกขาดของเอ็นหัวไหล่ เป็นอย่างไร?

ผู้ป่วยแบบนี้ รองรับการรักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นสภาพ

ico-adapt03_1
ico-adapt02_1
ico-adapt01_1
ico-adapt04_1

มีโอกาสที่ความเจ็บปวดจะเพิ่มขึ้นหลัง

ได้รับการผ่าตัดส่องกล้องภายในข้อ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับการรักษาด้วยสเต็มเซลล์สำหรับอาการบาดเจ็บที่เอ็นหัวไหล่ ได้รับผลการรักษาที่ดีกว่าการผ่าตัด

ในการรักษาแบบดั้งเดิม การผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นเวลาหลายเดือนหลังออกจากโรงพยาบาล ถึงกระนั้น ก็ยังมีหลายกรณีที่อาการปวดรุนแรงขึ้นกว่าก่อนการผ่าตัด และการเคลื่อนไหวของข้อไหล่แย่ลง

การรักษาด้วยสเต็มเซลล์จะใช้เพียงการฉีดยาเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องใช้มีดผ่าตัดเข้าไปในร่างกาย การเคลื่อนไหวของข้อต่อจึงไม่แย่ลงไปกว่าก่อนการรักษา นอกจากนี้ การรักษาด้วยสเต็มเซลล์สามารถฟื้นสภาพเอ็นขึ้นมาใหม่ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่การผ่าตัดทำไม่ได้ ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการรักษานี้คือ การที่ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้พร้อม ๆ กับการรักษา

สามารถสร้างเส้นเอ็นหัวไหล่จากการรักษาด้วย

ด้วยสเต็มเซลล์ได้โดยไม่ต้องรับการผ่าตัด

ถ้าเริ่มมีอาการยกแขนยาก หรือเกิดความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันจากอาการปวดไหล่หรือแขน โดยทั่วไปจะต้องรับการผ่าตัดส่องกล้องเข้าไปในข้อ การผ่าตัดส่องกล้องต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล และฟื้นฟูสมรรถภาพในภายหลังเป็นเวลานาน

การรักษาเอ็นหัวไหล่ด้วยสเต็มเซลล์ สามารถรักษาได้ง่าย ๆ ด้วยการฉีดยา โดยไม่จำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาลไม่ต้องกังวลเรื่องการหดเกร็งของข้อต่อหลังการผ่าตัดด้วย นอกจากนี้ เนื่องจากในการรักษาใช้สเต็มเซลล์ของคุณเอง จึงไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับอาการแพ้หรือผลข้างเคียง

หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้ผ่าตัด

ส่วนที่ได้รับบาดเจ็บจะค่อย ๆ กว้างขึ้น
และอาจเกิดการฉีกขาดโดยสิ้นเชิง

ถ้ารักษาด้วยสเต็มเซลล์...

การรักษาที่ใช้การฉีดเซลล์เท่านั้น ไม่เกิดความเครียด
และลดความเสี่ยงของการฉีกขาดโดยสิ้นเชิงได้

ประโยชน์ของเวชศาสตร์ฟื้นสภาพอีกอย่างหนึ่ง

แม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยว่าเอ็นหัวไหล่บาดเจ็บ แต่ถ้าอาการปวดไม่รุนแรงและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ คนส่วนใหญ่ก็จะไม่รับการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม การบาดเจ็บที่เอ็นหัวไหล่ที่อาจจะเล็กน้อยในตอนแรก แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้บริเวณที่บาดเจ็บจะค่อย ๆ ขยายออก และมีโอกาสที่เอ็นจะฉีกขาดโดยสิ้นเชิงมากขึ้น

ดังนั้น การรักษาด้วยสเต็มเซลล์ที่ไม่เกิดความเครียดต่อร่างกาย ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่บาดแผลยังเล็ก จะเป็นการดีที่สุดเราสามารถรักษาเอ็นหัวไหล่ที่บาดเจ็บด้วยการฉีดยาอย่างเดียวได้ และสามารถลดความเสี่ยงที่เอ็นจะฉีกขาดด้วย

การรักษาการบาดเจ็บที่เอ็นหัวไหล่โดยการใช้สเต็มเซลล์

นำสเต็มเซลล์ออกมาจากร่างกาย

และฉีดเข้าไปในเอ็นหัวไหล่   สเต็มเซลล์จะสร้างเอ็นหัวไหล่ใหม่ขึ้นมา

ลักษณะเด่นของเวชศาสตร์ฟื้นสภาพคลินิกของเรา

อัตราการรอดชีวิตของสเต็มเซลล์สูง เนื่องจากไม่มีการเก็บรักษาโดยการแช่แข็ง

การเปรียบเทียบ CPC (ห้องแปรรูปเซลล์)

CPC ของคลินิกของเรา

CPC ของโรงพยาบาลอื่น

ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงของห้องแปรรูปเซลล์ชั้นนำของญี่ปุ่น จึงไม่จำเป็นต้องมีการเก็บเซลล์แบบแช่แข็งเราจึงสามารถฉีดสเต็มเซลล์ที่มีชีวิตเป็นจำนวนมาก

ยิ่งสเต็มเซลล์มีชีวิตชีวามากเท่าไหร่ ผลการรักษาน่าก็จะดีขึ้นเท่านั้นสินะคล้ายกับที่ปลาทูน่าดิบที่ไม่ได้แช่แข็ง จะอร่อยกว่าปลาทูน่าที่นำมาละลายแข็งเลยนะ!!

ใช่แล้ว ยิ่งมีสเต็มเซลล์สดใหม่และมีชีวิตชีวามากเท่าไหร่ ผลการรักษาก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น สิ่งนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วในผลการวิจัยจากต่างประเทศ

ที่คลินิกของเรา สามารถเพิ่มสเต็มเซลล์ที่มีชีวิตชีวาเหล่านี้ให้มีจำนวนมากกว่า 100 ล้านเซลล์ได้อีกด้วยนะ

คุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเซลล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของเรา

  • ปลอดภัยและวางใจได้ เพราะสเต็มเซลล์ถูกสร้างจากเซลล์และเลือดของคุณเอง
  • ปริมาณไขมันที่ต้องเก็บมาน้อยมาก ประมาณ 2-3 เม็ด ขนาดเท่าเม็ดข้าว จึงเกิดความเครียดต่อร่างกายน้อย
  • ไม่มีสารเคมี สารเติมแต่ง หรือสิ่งเจือปนอื่นใด มั่นใจได้ว่าไม่มีผลข้างเคียง

ข้อควรทราบ เมื่อจะฉีดเซลล์หลายครั้ง

แทนที่จะแช่แข็งและเก็บไว้ล่วงหน้า คลินิกของเราใช้เวลาและความพยายามในการเพาะเลี้ยงเซลล์ในแต่ละครั้ง เราจึงสามารถฉีดสเต็มเซลล์ที่สดใหม่จำนวนมากขึ้นได้!
ดังนั้น ผลการรักษาเลยสูงขึ้นตามมานั่นเอง
เวชศาสตร์ฟื้นสภาพ มีศักยภาพในการรักษาที่ไม่พบในการรักษาแบบดั้งเดิมเราเห็นผู้ป่วยหลายท่านที่มีความสุขจากการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ เพราะทำให้สามารถทำในสิ่งที่เคยทำไม่ได้มาก่อน เราหวังว่าการรักษานี้จะแพร่หลายมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อที่จะให้ความหวังใหม่แก่ผู้ป่วย