การแนะนำตัวอย่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ภาวะเลือดออกในสมองหรือภาวะสมองขาดเลือด เกิดจากการที่หลอดเลือดสมองแตกหรือตันด้วยเหตุบางประการเมื่อภาวะเหล่านี้เกิดขึ้น เลือดและสารอาหารจะไปไม่ถึงเซลล์สมอง และเซลล์สมองจะตายภายในเวลาประมาณ 3-6 ชั่วโมง และเข้าใจกันว่าจะไม่สามารถทำให้มันกลับมาได้

แต่เราพบว่าการรักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นสภาพ สามารถฟื้นฟูเซลล์สมองที่หยุดทำงาน และบรรเทาอาการที่ตามมาจากโรคหลอดเลือดสมองได้เราทราบว่าสเต็มเซลล์ที่อยู่ในร่างกายเรา สามารถเปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น เส้นประสาท หลอดเลือด กระดูก และกระดูกอ่อนได้ เราจะทำการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์เหล่านี้เพื่อเพิ่มจำนวน และใช้ความสามารถในการเปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อต่าง ๆ เพื่อสร้างเซลล์สมองขึ้นมาใหม่ ปัจจุบันการวิจัยด้านเวชศาสตร์ฟื้นสภาพสำหรับโรคหลอดเลือดสมองกำลังก้าวหน้า และได้รับการยอมรับว่ามีความปลอดภัยและประสิทธิผลสูง ทำให้เป็นวิธีการรักษาที่ดึงดูดความสนใจจากทั่วโลก

ยิ่งให้การรักษาโรคหลอดเลือดสมองด้วยเวชศาสตร์ฟื้นสภาพเร็วเท่าไหร่

ก็จะมีโอกาสฟื้นสภาพการทำงานของสมองได้มากเท่านั้น!

ผลการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง(ภาวะสมองขาดเลือด/ภาวะเลือดออกในสมอง)ด้วยเวชศาสตร์ฟื้นสภาพ จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นกับอาการของโรค และสภาพร่างกาย อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่ายิ่งเริ่มการรักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นสภาพ (สเต็มเซลล์) เร็วเท่าใด ผลลัพธ์ก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น เพื่อการฟื้นสภาพสมองด้วยเวชศาสตร์ฟื้นสภาพ หากคุณไม่แน่ใจว่าจะเข้ารับการรักษาดีหรือไม่ กรุณาปรึกษากับเราให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง(ภาวะสมองขาดเลือด/ภาวะเลือดออกในสมอง) ด้วยเวชศาสตร์ฟื้นสภาพ (สเต็มเซลล์) จะเริ่มเห็นผลเมื่อไหร่

เราจะให้การรักษาด้วยการฉีดสเต็มเซลล์ทั้งหมด 3 ครั้ง โดยเว้นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน บางคนอาจจะเห็นผลได้ตั้งแต่ 1 สัปดาห์หลังรับการรักษา แต่บางคนก็จะค่อย ๆ เห็นผลภายใน 1 ปี
เนื่องจากมีความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงไม่สามารถบอกได้ว่าจะใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ แต่จากตัวอย่างผู้ป่วยก่อนหน้าแล้ว เราแนะนำให้ทำการฟื้นฟูสมรรถภาพควบคู่กันไปด้วยประมาณ 1 ปี

เวชศาสตร์ฟื้นสภาพสำหรับโรคหลอดเลือดสมอง คืออะไร?

(ภาวะสมองขาดเลือด, ภาวะเลือดออกในสมอง, ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง)

ปัจจุบันการวิจัยด้านเวชศาสตร์ฟื้นสภาพโรคหลอดเลือดสมอง มีความก้าวหน้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ และกำลังได้รับความสนใจในฐานะทางเลือกใหม่ในการรักษา เนื่องจากได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะสมองขาดเลือดและภาวะเลือดออกในสมอง

แน่นอนว่าเวชศาสตร์ฟื้นสภาพ ไม่สามารถกำจัดอาการที่ตามมาได้โดยสิ้นเชิงผลการรักษาจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่ก็ยังเป็นการรักษาที่คาดหวังให้ผู้ที่นั่งรถเข็นสามารถเดินด้วยไม้เท้า และบรรเทาอาการในผู้ที่พูดลำบากหรือมีอาการชาได้

นอกจากนี้ ว่ากันว่าโรคหลอดเลือดสมอง มีโอกาสเกิดโรคซ้ำสูง เวชศาสตร์ฟื้นสภาพจึงเป็นการรักษาได้รับความสนใจ เพราะสามารถป้องกันเกิดซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองได้

ผู้ป่วยที่มีอาการที่ตามมาเหล่านี้ สามารถรับการรักษาได้

พูดไม่ชัด

อยากแก้อาการชาและอัมพาต

ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าไม่สามารถฟื้นฟูการทำงานได้อีกต่อไป

ผู้ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสมรรถภาพ

ต้องการป้องกันการเกิดซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง (ภาวะสมองขาดเลือด, ภาวะเลือดออกในสมอง, ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง)

ผลการรักษาที่คาดหวังได้จากเวชศาสตร์ฟื้นสภาพ (การรักษาด้วยสเต็มเซลล์)

1.การฟื้นสภาพการทำงานของร่างกาย (บรรเทาอาการที่ตามมาจากโรค)

การฟื้นสภาพเซลล์สมองที่เสียไปจากความเสียหายของหลอดเลือดด้วยเวชศาสตร์ฟื้นสภาพ มีโอกาสที่จะรักษาอาการที่ตามมาได้ เช่น อัมพาต หรือการพูดไม่ชัดนอกจากนี้ สเต็มเซลล์สามารถระงับการอักเสบ และบรรเทาอาการเจ็บและชาได้

2.เพิ่มประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

การฟื้นฟูสมรรถภาพไปพร้อม ๆ กับการใช้เวชศาสตร์ฟื้นสภาพ จะทำให้สเต็มเซลล์ซ่อมแซมและฟื้นสภาพเซลล์ประสาทสมองที่เสียไป และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการฟื้นฟูการทำงานได้ แน่นอนว่าถึงเป็นผู้ป่วยที่เป็นโรคแล้วหลายปี ก็สามารถคาดหวังผลการรักษาได้

นอกจากนี้ ที่คลินิกของเรา เรามีทีมงานที่ประกอบด้วยนักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักบำบัดการพูด นักบำบัดยืดเส้น นักฝังเข็ม และผู้ฝึกด้านการกีฬา เราจึงสามารถให้การฝึกอบรมและคำแนะนำในการฟื้นฟูสมรรถภาพของผลที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองที่ใช้ความเชี่ยวชาญของแต่ละคนได้ ดังนั้นกรุณาอย่าลังเลที่จะปรึกษาเรา

3. ป้องกันการเกิดซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง

สิ่งที่น่ากลัวเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง คือมีโอกาสการเกิดโรคซ้ำสูง แม้ว่าอาการจะไม่รุนแรงในช่วงแรก แต่การกลับมาเป็นใหม่ซ้ำ ๆ อาจส่งผลให้เกิดผลที่ตามมารุนแรงขึ้นได้

เวชศาสตร์ฟื้นสภาพ ไม่เพียงแต่ฟื้นเซลล์สมองที่เสียหายไปเท่านั้น แต่ยังซ่อมแซมหลอดเลือดที่เสียหาย เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำของภาวะเลือดออกในสมองหรือภาวะสมองขาดเลือด

ผลของเวชศาสตร์ฟื้นสภาพต่อโรคหลอดเลือดสมอง

เวชศาสตร์ฟื้นสภาพสำหรับโรคหลอดเลือดสมอง(ภาวะสมองขาดเลือด/ภาวะเลือดออกในสมอง) ที่ใช่สเต็มเซลล์จากไขมัน

เวชศาสตร์ฟื้นสภาพ (การรักษาด้วยสเต็มเซลล์) มีผลที่สำคัญ 2 อย่าง คือการซ่อมแซมและฟื้นสภาพเซลล์สมองที่เสียไป และการฟื้นสภาพหลอดเลือดสมองใหม่ เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ

การฟื้นสภาพเซลล์ประสาทสมอง

สเต็มเซลล์สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเส้นประสาท หลอดเลือด กระดูก กระดูกอ่อน ฯลฯสเต็มเซลล์จะเข้าถึงรอบ ๆ เซลล์สมองที่เสียหายและจะซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหาย สร้างเซลล์สมองและเส้นประสาทสมองขึ้นมาใหม่ เพื่อฟื้นฟูการทำงานให้กลับมา

การฟื้นสภาพหลอดเลือด

สถาบันการแพทย์หลายแห่ง เริ่มใช้เวชศาสตร์ฟื้นสภาพในการรักษาการไหลเวียนของเลือดที่หัวใจและขาในทำนองเดียวกัน เวชศาสตร์ฟื้นสภาพสามารถฟื้นสภาพหลอดเลือดที่เสียหายในสมอง หรือสร้างหลอดเลือดใหม่ ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วย เมื่อหลอดเลอดเกิดการอุดตัน จะทำให้กระแสเลือดหลังส่วนที่อุดตันหยุดไป และเกิดภาวะสมองขาดเลือด แต่สเต็มเซลล์มีพลังในการสร้างหลอดเลือดใหม่ เพื่อที่จะพยายามส่งเลือดไปยังบริเวณของสมองที่ขาดเลือด ผลเช่นนี้ ทำให้เราสามารถคาดหวังผลการฟื้นสภาพบริเวณที่ขาดเลือด และฟื้นการทำงานของบริเวณที่เสียหายได้

การป้องกันการเกิดซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง (ภาวะสมองขาดเลือด,

ภาวะเลือดออกในสมอง, ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง)

แม้ว่าอัตราการเกิดซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองนั้นสูง เวชศาสตร์ฟื้นสภาพ(การรักษาด้วยสเต็มเซลล์) สามารถซ่อมแซมหลอดเลือดที่บอบบาง และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองขาดเลือดหรือภาวะเลือดออกในสมองได้

เราสามารถ “ป้องกันการเกิดซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง” ด้วยวิธีนี้ได้นี่เอง เนื่องจากโรคนี้จะอาการรุนแรงขึ้นเมื่อเป็นซ้ำ ๆ การรักษาเชิงป้องกันโดยเวชศาสตร์ฟื้นสภาพจึงได้รับความสนใจอย่างมากในตอนนี้

“กำแพงแห่งความจริง” ที่ดร.ซากาโมโตะสัมผัสได้

ถึงแม้ว่าภาวะสมองขาดเลือดหรือภาวะเลือดออกในสมองจะถูกค้นพบตั้งแต่เนิ่น ๆ และรับการรักษาที่เหมาะสม ก็อาจจะเกิดอาการที่ตามมา เช่น อัมพาต หรืออาการชาได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีของอาการที่ตามมาจากโรคหลอดเลือดสมอง (ภาวะสมองขาดเลือด, ภาวะเลือดออกในสมอง) ถ้าเวลาผ่านไปสักพักหลังจากการแสดงอาการ จะไม่มีวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพ

ผมก็เคยมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในประสบการณ์ทางคลินิกที่ยาวนาน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ทำการฟื้นฟูสมรรถภาพภายหลังการเกิดอาการ 2-3 เดือน ส่วนใหญ่จะมีอาการที่ดีขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ถ้าเวลาผ่านไปจนโรคเข้าสู่ระยะเรื้อรัง จะทำให้การฟื้นการทำงานยากขึ้น และทำได้ดีที่สุดคือการรักษาแรงกล้ามเนื้อที่มีอยู่ตอนนี้ไว้ และเมื่อจำนวนครั้งใการฟื้นฟูสมรรถภาพลดลง จะทำให้แรงกล้ามเนื้อค่อย ๆ ลดลง และข้อต่อก็จะแข็งเกร็งขึ้น ทำให้ไม่สามารถขยับตัวตามที่ต้องการได้ ในตอนนั้น ผมได้พบกับเวชศาสตร์ฟื้นสภาพสำหรับโรคหลอดเลือดสมอง และรู้สึกว่ามีความเป็นไปได้ที่จะช่วยผู้ป่วยที่มีอาการตามมาจากโรคหลอดเลือดสมองได้มากขึ้น

โรคหลอดเลือดสมอง คือภาวะสมองขาดเลือด,

ภาวะเลือดออกในสมอง และภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติในหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของคนญี่ปุ่นรองจาก “มะเร็ง” และ “โรคหัวใจ” และสาเหตุอันดับ 1 ของการนอนติดเตียงโรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือภาวะสมองขาดเลือด, ภาวะเลือดออกในสมอง และภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง
โรคที่พบบ่อยที่สุดคือภาวะสมองขาดเลือด ซึ่งคิดเป็นประมาณ 70% ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด มีข้อมูลว่ามีคนเป็นโรคนี้ 400 คนจาก 100,000 คนต่อปี และประมาณ 100 คนในนั้นจะเสียชีวิต

โรคหลอดเลือดสมอง

ภาวะสมองขาดเลือด

type03
เกิดจากการที่หลอดเลือดใหญ่ในสมองที่โป่งพองแตก ทำให้มีเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง

ภาวะเลือดออกในสมอง

type01
เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดในสมองตีบหรืออุดตัน

ภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง

type02
เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดเล็กๆ ในสมองแตก ทำให้มีเลือดออก
type01-roentgen
type02-roentgen
type03-roentgen

โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ที่มีสาเหตุจากโรคหัวใจ

type01-vessel01-1
ลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในหัวใจเนื่องจากภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วหรือภาวะอื่น ๆ อุดตันในหลอดเลือดสมอง

ภาวะสมองขาดเลือด ที่เกิดจากเส้นโลหิตแดงตีบเนื่องจากมีลิ่มเลือดจากไขมันที่ผนังหลอดเลือด

type01-vessel02-1
ภาวะไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือดใหญ่ในสมอง และพอไขมันที่สะสมแตกออก จะทำให้เกล็ดเลือดเกาะกลุ่มกันเป็นลิ่มเลือด ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด

ภาวะหลอดเลือดในสมองขนาดเล็กตีบ

type01-vessel03-1
หลอดเลือดขนาดเล็กเกิดการอุดตัน เนื่องจากภาวะความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน เป็นต้น

ภาวะหลอดเลือดในสมองขนาดเล็กตีบ

ภาวะหลอดเลือดในสมองขนาดเล็กตีบ
เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะสมองขาดเลือดในญี่ปุ่น เป็นโรคที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดขนาดเล็กในสมองที่เรียกว่า Penetrating branch
Lacunar แปลว่า โพรงขนาดเล็ก ซึ่งหมายถึงภาวะสมองขาดเลือดขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 15 มม.
เป็นภาวะมองเห็นยากจากการสแกน CT แต่เราสามารถมองเห็นภาวะสมองขาดเลือดเล็ก ๆ หลายจุดได้จากการตรวจ MRI ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดคือภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนั้นก็จะมีภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และการสูบบุหรี่ ที่เพิ่มความเสี่ยงได้
โรคนี้เกิดขึ้นเนื่องจากมีความดันสูงมากระทำต่อหลอดเลือด

อาการหลัก

อาการจะดำเนินค่อนข้างช้า

ไม่ค่อยเกิดความผิดปกติของการรู้สึกตัว

พูดไม่ชัด

อาการชาและความผิดปกติของการเคลื่อนไหวแขนขา

การวินิจฉัย

CT สมอง

MRI

MRA

อัลตราซาวด์

เจาะเลือดเพื่อดูระบบการแข็งตัวของเลือดและการละลายลิ่มเลือด

วิธีการรักษา

หากยังอยู่ภายใน 4-5 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการภาวะสมองขาดเลือด จะมีการใช้ยาที่เรียกว่า T-PA ที่ช่วยละลายลิ่มเลือด นอกจากนี้ หากเวลาผ่านไปนานนับตั้งแต่เริ่มเกิดอาการ หรือการรักษาด้วย T-PA ไม่ได้ผล เราอาจทำการกำจัดลิ่มเลือดโดยการใช้สายสวนหรือการผ่าตัด

ภาวะสมองขาดเลือด ที่เกิดจากเส้นโลหิตแดงตีบเนื่องจากมีลิ่มเลือดจากไขมันที่ผนังหลอดเลือด

“ไขมันที่ผนังหลอดเลือด” หมายถึง ภาวะหลอดเลือดแข็ง ซึ่งเป็นภาวะที่คอเลสเตอรอลฝังตัวในผนังหลอดเลือดและเกิดการแข็งตัว หากไขมันที่ผนังหลอดเลือดก่อตัวในหลอดเลือดขนาดใหญ่ในสมอง และไขมันที่สะสมนี้แตกออก จะมีเกล็ดเลือดเข้ามาเกาะกลุ่มกันกลายเป็นลิ่มเลือด เมื่อลิ่มเลือดนี้ติดอยู่ในหลอดเลือด จะทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือด สาเหตุส่วนใหญ่ มาจากความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคอ้วน และการสูบบุหรี่
และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จำนวนของภาวะสมองขาดเลือดเพิ่มขึ้น เนื่องจากการรับประทานอาหารที่ปรับเปลี่ยนไปสู่ความเป็นตะวันตกมากขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว เป็นสัญญาณเตือนก่อนเกิดการขาดเลือดจริง ภาวะนี้คิดเป็นประมาณ 1/3 ของภาวะสมองขาดเลือดทั้งหมด

อาการหลัก

อัมพาตแขนขาข้างหนึ่ง เนื่องจากการอุดตันของหลอดเลือดขนาดใหญ่

ความสามารถในการมองเห็นลดลง

ความผิดปกติของการรู้สึกตัว

อัมพาตครึ่งซีก

พูดไม่ชัด

วิงเวียนศีรษะ

อาเจียน

เหล่านี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อย

การวินิจฉัย

ใช้ CT ยืนยันว่าไม่มีเลือดออกในสมอง และวินิจฉัยด้วย MRI

อัลตราซาวด์หัวใจ

อัลตราซาวด์หลอดเลือดแดงที่คอ

คลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ระบบการแข็งตัวของเลือด

เจาะเลือดเพื่อดูการละลายลิ่มเลือด

เป็นต้น

วิธีการรักษา

การรักษาจะทำโดยการละลายลิ่มเลือด และการผ่าตัด การให้ยาสลายลิ่มเลือดให้เร็วที่สุดหลังการแสดงอาการ จะทำให้สามารถสลายลิ่มเลือดได้ เราจะให้ยาละลายลิ่มเลือดเช่น Alteplase, Recombinant tissue plasminogen activator (rt-PA) โดยเร็วที่สุดหลังเกิดอาการภาวะขาดเลือด หากให้ยาภายใน 4-5 ชั่วโมง หลังเกิดอาการภาวะสมองขาดเลือด การพยากรณ์โรคจะค่อนข้างดี และคาดหวังว่าผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวกลับมาได้
หากลิ่มเลือดมีขนาดใหญ่ จะมีการกำจัดลิ่มเลือดโดยการใช้สายสวน ในขณะเดียวกันก็จะมีการให้ยาลดความดันโลหิต เพื่อลดความดันในสมอง

โรคหลอดเลือดสมองอุดตันที่มีสาเหตุจากโรคหัวใจ

โรคหลอดเลือดสมองอุดตันที่มีสาเหตุจากโรคหัวใจ คือภาวะสมองขาดเลือดที่เกิดจากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในหัวใจเนื่องจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว โรคลิ้นหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ไปอุดตันหลอดเลือดในสมอง เลือดมีคุณสมบัติการแข็งตัวเมือไม่เกิดการไหลเวียน เพื่อห้ามเลือดตอนที่มีเลือดออก เมื่อมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เรียกว่าภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว จะมีเลือดบางส่วนที่ไม่เกิดการไหลเวียน ทำให้เกิดลิ่มเลือดง่ายขึ้น ลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในหัวใจสามารถไหลไปยังสมอง ซึ่งสามารถอุดตันหลอดเลือดในสมองและทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้ ลิ่มเลือดมักจะมีขนาดใหญ่ และหากเกิดการอุดตัน อาจเกิดภาวะสมองขาดเลือดบริเวณกว้าง หลังจากเกิดภาวะสมองขาดเลือดครั้งหนึ่ง ลิ่มเลือดจะเกิดการสลายตัวเล็กลง และลิ่มเลือดนั้นอาจไหลไปที่บริเวณที่เกิดการขาดเลือด ทำให้มีเลือดออกขึ้นมา ภาวะนี้จะเรียกว่า “ภาวะสมองขาดเลือดเนื่องจากเลือดออก” และพบได้บ่อยในโรคหลอดเลือดสมองอุดตันที่มีสาเหตุจากโรคหัวใจ
ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และภาวะสมองขาดเลือดประเภทนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในสังคมผู้สูงอายุ นับเป็น 1/3 ของโรคหลอดเลือดสมองอุดตันทั้งหมด

อาการหลัก

อัมพาตครึ่งซีก

ปวดศีรษะอย่างรุนแรง

วิงเวียนศีรษะ

ความผิดปกติทางประสาทสัมผัส (ใส่แรงไม่ได้ ชา)

ความผิดปกติของสติและการพูด (พูดยาก)

กลืนอาหารยาก

เกิดความผิดปกติของการมองเห็นอย่างกะทันหัน

ความผิดปกติของการเดิน

การวินิจฉัย

ใช้ CT ปฏิเสธภาวะเลือดออกในสมองและภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง

MRI

MRA

อัลตราซาวด์หัวใจ

อัลตราซาวด์หลอดเลือดแดงที่คอ

อัลตราซาวด์หัวใจผ่านหลอดอาหาร

ระบบการแข็งตัวของเลือด

เจาะเลือดเพื่อดูการละลายลิ่มเลือด

คลื่นไฟฟ้าหัวใจ

คลื่นไฟฟ้าหัวใจโฮลเตอร์

เป็นต้น

วิธีการรักษา

การรักษาด้วย T-PA จะมีผลหากอยู่ภายใน 4-5 ชั่วโมงหลังเกิดอาการภาวะสมองขาดเลือด หากการรักษาด้วย T-PA ไม่ได้ผล จะทำการรักษาโดยการใส่สายสวนหากอยู่ภายใน 8 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ ยิ่งรับการรักษาเร็วเท่าไหร่ การฟื้นตัวของผู้ป่วยก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น การรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด จะเป็นการรักษาหลักเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดซ้ำ ในระยะเฉียบพลัน จะใช้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดชื่อว่าเฮพาริน ฉีดเข้าไปทางหลอดเลือดดำ หลังจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นยากินที่ชื่อว่าวาร์ฟาริน ในการรักษาแบบดั้งเดิม
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่ใช้วาร์ฟารินจำเป็นต้องมีการเจาะเลือดเป็นประจำ ไม่สามารถใช้ร่วมกับยาได้หลายชนิด มีผลข้างเคียง เช่น เลือดออกในกะโหลกศีรษะหรือในทางเดินอาหาร และจำเป็นต้องจำกัดการบริโภคอาหารที่มีวิตามินเคสูง (นัตโตะ คลอเรลลา น้ำผักสีเขียว เป็นต้น) ดังนั้นในปัจจุบัน ยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มใหม่ (NOAC) ได้รับการอนุมัติแล้ว

ภาวะเลือดออกในสมอง

ภาวะเลือดออกในสมองคือการที่หลอดเลือดในสมองแตก (ฉีกขาด) เนื่องจากความดันโลหิตสูง ส่งผลให้เลือดออกในสมองโดยตรง เลือดที่ออกมาจะก่อตัวเป็นก้อนเลือด ซึ่งสร้างแรงกดต่อสมอง ทำให้สารอาหารและออกซิเจนเข้าไม่ถึงสมอง ทำให้เกิดความผิดปกติในสมองแบบต่าง ๆ มักจะเกิดขึ้นในหลอดเลือดที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก และมักเกิดขึ้นบริเวณกลางของสมอง
ภาวะนี้เรียกอีกอย่างว่า ภาวะเลือดออกในสมองเนื่องจากความดันโลหิตสูง และคิดเป็นประมาณ 80% ของภาวะเลือดออกในสมองทั้งหมด สาเหตุต่าง ๆ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ความเครียด และแอลกอฮอล์ และสาเหตุอื่น ๆ อีกได้แก่ ความผิดปกติแต่กำเนิดของหลอดเลือดในสมอง (โรคหลอดเลือดสมองเอวีเอ็ม) การตั้งครรภ์ และโรคที่ทำให้เลือดแข็งตัวยาก

อาการหลัก

อัมพาตครึ่งซีก

ปวดศีรษะ

วิงเวียนศีรษะ

คลื่นไส้

ความผิดปกติของการรู้สึกตัว

พูดไม่ชัด

ความผิดปกติของการเดิน

เป็นต้น

การวินิจฉัย

วินิจฉัยได้ง่ายด้วย CT

ภาวะเลือดออกในสมองส่วน Putamen

พบได้บ่อย ประมาณ 50% อาการจะค่อนข้างไม่รุนแรง แต่หากความเสียหายขยายไปถึงฐาน อาจเกิดอัมพาตครึ่งซีกและการสูญเสียประสาทสัมผัสได้ อัตราการเสียชีวิตไม่สูงมาก

ภาวะเลือดออกในสมองส่วน Thalamus

พบได้ประมาณ 30% ทำให้เกิดความผิดปกติทางประสาทสัมผัสหรืออัมพาตครึ่งซีก ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยคือ ภาวะน้ำคั่งในสมองเฉียบพลัน

ภาวะเลือดออกในสมองส่วน Subcortical area

พบได้ประมาณ 10% มีอาการไม่รุนแรงมาก เช่น ความผิดปกติของการรู้สึกตัว หรือการเสียประสาทสัมผัส เป็นต้น

ภาวะเลือดออกในสมองส่วน Cerebellum

พบได้ประมาณ 10% จะมีอาการวิงเวียนศีรษะ อาเจียน ปวดศีรษะ ความผิดปกติของการเดิน และการสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหว

ภาวะเลือดออกในก้านสมอง (ภาวะเลือดออกในสมองส่วน Pons)

พบได้ประมาณ 10% เกิดปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ ความผิดปกติของการรู้สึกตัว อัมพาต และความผิดปกติของการเคลื่อนไหวดวงตา ในบางกรณี ผู้ป่วยอาจตกอยู่ในอาการโคม่าและเสียชีวิตได้

ภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง

ภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง จะมีการสะสมของเลือดระหว่างสมองกับเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง
ประมาณ 80% เกิดจากการแตกของหลอดเลือดที่โป่งพองในสมอง การเกิดหลอดเลือดที่โป่งพองในสมองนั้นยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อกันว่าที่หลอดเลือดสมองมีส่วนที่บอบบางอยู่ตั้งแต่เกิด และจะเกิดการโป่งพองเมื่อมีภาวะความดันโลหิตสูง หรือจากอายุที่มากขึ้น เมื่อหลอดเลือดโป่งพองแตกออก จะเกิดปวดศีรษะรุนแรงกะทันหันราวกับว่าถูกค้อนทุบจากด้านหลัง และอาจมีอาการอาเจียนด้วย หากมีเลือดออกปริมาณมาก อาจทำให้หมดสติได้ อุบัติการณ์อยู่ที่ประมาณ 20 จาก 100,000 คนต่อปี (ในประเทศญี่ปุ่น) และมักเกิดขึ้นหลังอายุ 50 ปี พบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า และมีสาเหตุต่าง ๆ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก และพันธุกรรม
ภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง มักเกิดเลือดออกซ้ำ โดยเกิดขึ้นบ่อยที่สุดภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากเกิดเลือดออกครั้งแรก และหากเกิดเลือดออกซ้ำ จะมีโอกาสเสียชีวิตประมาณ 50% เลยทีเดียว หลอดเลือดที่โป่งพองส่วนใหญ่จะมีขนาดน้อยกว่า 10 มม. แต่ถ้ามีขนาดใหญ่กว่านั้นจะทำการรักษายาก ประมาณ 1/3 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะเสียชีวิต และประมาณ 1/3 ของผู้ป่วยจะมีอาการตามมา เช่น ความผิดปกติของการทำงานของสมอง

อาการหลัก

ปวดศีรษะอย่างรุนแรง

อาเจียน

ความผิดปกติของการรู้สึกตัว

ความผิดปกติของการเคลื่อนไหว

ว่ากันว่าประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย จะมีเลือดออกซ้ำภายใน 1 เดือน

ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ 3 ภาวะ ได้แก่ เลือดออกซ้ำ หลอดเลือดสมองหดเกร็ง และโรคน้ำเกินในโพรงสมอง

การวินิจฉัย

CT สมอง 3D-CT

MRI

MRA

การถ่ายภาพหลอดเลือดสมอง (DSA)

เป็นต้น

วิธีการรักษา

  • การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะและหนีบหลอดเลือดสมองที่โป่งพอง
    ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ หรือบริเวณที่เข้าถึงยาก เช่น ฐานกะโหลกศีรษะ
  • การอุดเส้นเลือดโป่งพองโดยใช้ขดลวด
    สามารถทำกับผู้ป่วยวิกฤตและผู้สูงอายุได้ค่อนข้างง่าย
  • โรคน้ำเกินในโพรงสมอง
    หลังจากที่เกิดโรคนี้ประมาณ 1 เดือน จะเริ่มมีอาการต่าง ๆ เช่น ภาวะสมองเสื่อม ความผิดปกติของการรู้สึกตัว ความผิดปกติของการเดิน และอาการกลั้นอุจจาระและปัสสาวะไม่อยู่ และต้องรักษาโดยการผ่าตัดใส่ท่อระบาย

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของ “การนอนติดเตียง”

ภาพรวมของการสำรวจขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการดำรงชีวิตแห่งชาติ
สาเหตุที่มากที่สุดของการนอนติดเตียง คือการได้รับผลกระทบจากความผิดปกติของสมอง ทำให้เกิดอัมพาตที่แขนและขา รวมทั้งความสามารถในการคิดและการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเองแย่ลง ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันด้วยตัวคนเดียวได้

ระวังอัตราการเกิดโรคซ้ำที่สูงของโรคหลอดเลือดสมอง

สิ่งที่น่ากลัวเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง คือมีโอกาสการเกิดโรคซ้ำสูง แม้ว่าอาการจะไม่รุนแรงในช่วงแรก แต่ก็ไม่สามารถวางใจได้ หลังจากที่เริ่มมีอาการโรคหลอดเลือดสมอง จะมีการอุดตันหรือแตกของหลอดเลือดอื่นตามมาได้ง่ายขึ้น

ผู้ป่วยต้องตระหนักว่าร่างกายของเขาอยู่ในสภาพที่เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ง่าย เนื่องจากปัจจัยทางพันธุกรรมและโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตเพื่อการป้องกันการทรุดหนักลงของอาการ สิ่งที่สำคัญคือการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองซ้ำ

caution-pict

อัตราการเกิดซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง (ภาวะสมองขาดเลือด,

ภาวะเลือดออกในสมอง, ภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง)

อัตราการเกิดซ้ำของ

ภายใน 1 ปี ภายใน 5 ปี ภายใน 10 ปีี
ภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง 10% 35% 50%
ภาวะเลือดออกในสมอง 25% 50% 55%
ภาวะสมองขาดเลือด์ 30% 50% 70%

ผลที่ตามมาจากภาวะสมองขาดเลือด อาจจะไม่รุนแรงในตอนแรก แต่ถ้ายิ่งเกิดภาวะนี้ซ้ำหลายครั้ง จะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และเกิดอาการตามมาร้ายแรงขึ้นได้ ถึงแม้ว่าจะสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ในกรณีของภาวะสมองขาดเลือด ว่ากันว่าผู้ป่วยประมาณ 20-30% จะเกิดโรคใหม่ภายใน 3 ปี

จุดแข็งของเวชศาสตร์ฟื้นสภาพ (การรักษาด้วยสเต็มเซลล์) ของคลินิกเรา

เวชศาสตร์ฟื้นสภาพของคลินิกเรา จะใช้สเต็มเซลล์ที่ได้จากไขมัน ไม่ใช่สเต็มเซลล์ที่ได้มาจากไขกระดูก การวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่า สเต็มเซลล์จากไขมันมีประสิทธิภาพในการรักษาสูงกว่าสเต็มเซลล์จากไขกระดูก
คลินิกของเราเป็นหนึ่งในสถาบันทางการแพทย์ไม่กี่แห่งในญี่ปุ่น ที่นำการรักษาด้วยสเต็มเซลล์จากไขมันมาใช้ ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ล้ำสมัย

การรักษาโดยใช้สเต็มเซลล์จากไขมันี การรักษาโดยใช้สเต็มเซลล์จากไขกระดูกี
ผลที่คาดว่าจะได้รับ O
ความเจ็บปวดในการรักษา แทบไม่มีอาการปวดเลย ไม่จำเป็น
การเข้าโรงพยาบาล ไม่จำเป็น มีความเจ็บปวดจากการเจาะไขกระดูก

LICENSE

สถาบันการแพทย์ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ

อนุมัติแผนการให้การรักษาเวชศาสตร์ฟื้นสภาพประเภท 2/3 แล้ว

การรักษาความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง โดยใช้สเต็มเซลล์ที่ได้มาจากไขมันของผู้ป่วยเอง

คลินิกของเราเป็นหนึ่งในไม่กี่แห่งในญี่ปุ่น ที่มีเวชศาสตร์ฟื้นสภาพที่ล้ำสมัยสำหรับ “โรคหลอดเลือดสมอง” “ภาวะสมองขาดเลือด” “ภาวะเลือดออกในสมอง” ฯลฯ โดยใช้สเต็มเซลล์ของผู้ป่วยเองในการรักษา และการฉีด PRP (พลาสม่าเกล็ดเลือดเข้มข้น) ภายในข้อ ภายใต้กฎหมายความปลอดภัยเวชศาสตร์ฟื้นสภาพ

เวชศาสตร์ฟื้นสภาพ ต้องได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มงวดโดยคณะกรรมการเวชศาสตร์ฟื้นสภาพที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ และหลังจากที่วิธีการรักษา ความปลอดภัย โครงสร้างบุคลากรทางการแพทย์ ฯลฯ ถูกพิจารณาว่าเหมาะสมแล้วเท่านั้น จึงจะยื่นแผนการรักษาไปยัง กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการได้